Twitter

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รายละเอียดการบริจาค

• ส่งเช็คขีดคร่อม สั่งจ่าย “มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร”

• โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
    ธนาคารกรุงไทย สาขาเจริญประดิษฐ์
    ชื่อบัญชี “มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร” เลขที่ 929 - 0 - 18150 - 8

กระแสหรือผลพวงของการปฏิบัติงาน

           ผ่านมาหนึ่งปีกับงานอาสาสมัครเยียวยาผู้บาดเจ็บผู้ป่วยฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การขับเคลื่อนของมูลนิธิฮิลาลอะห์มัรนั้น ตนเองในฐานะประธานมูลนิธิฯ คิดว่า เรื่องการพัฒนาอาสาสมัครนี้เราเดินมาได้พอสมควร เท่าที่ติดตามพัฒนาการของพวกเขามาอย่างต่อเนื่อง ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสำคัญประการหนึ่งคือ อาสาสมัครของศูนย์ปฏิบัติการเริ่มแสดงความเป็นห่วงเป็นใยสังคม แม้เขาจะไม่ได้มาเข้าเวรที่ศูนย์ก็ตาม ดูได้จากเขามีความคิดที่อยากจะพัฒนาสังคม เริ่มคิดว่าจะทำอะไรเพื่อชุมชนของเขา อาทิเช่น การคิดที่จะไปขอที่ราชพัสดุซึ่งว่างอยู่มาปลูกพริก หรือศูนย์บันนังสตาจะปลูกกล้วย เพื่อที่จะปันผลที่ได้ไปดูแลเด็กกำพร้าและแบ่งกำไรที่มีสัดส่วนประจำให้กับมูลนิธิฯ ไปเลย สิ่งเหล่านี้เป็นกระแสหรือผลพวงที่เกิดขึ้นมาจากการทำเรื่องของอาสาสมัคร ที่ผ่านมามันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

จุดเริ่มจากงานอาสาสมัครเยียวยาฉุกเฉินสามารถพัฒนาจิตสาธารณะที่นำไปสู่การทำเรื่องส่วนรวมอื่นๆ ทั้งนี้เกิดจากการค้นพบคุณค่าอะไรบางอย่างในตัวของอาสาสมัครเอง ยกตัวอย่างในโลกอิสลามคนที่เข้ามาทำงานในลักษณะนี้ จะพัฒนาตนเองไปเป็นคนที่เริ่มไม่เห็นแก่ตัว และในโลกอิสลามมันถูกพิสูจน์ว่า การทำงานแบบองค์กรอาสาสมัครที่อยู่บนวิถีของมุสลิมมันเข้มแข็ง สิ่งนี้อาจจะไม่เกิดในสังคมอื่นแต่ในสังคมมุสลิมมันเกิดเพราะสังคมมุสลิมถูกครอบโดยศาสนา

ที่ผ่านมาสังคมมุสลิมวนเวียนอยู่กับผู้รู้ทางศาสนา ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดให้กับผู้รับในสังคม บางทีไม่มีรูปธรรมที่แสดงสิ่งที่ตนเองสอนให้คนอื่นทำ ฉะนั้นคนที่นี่จึงไม่ได้คิดว่ามีโต๊ะครูมากแล้วสังคมจะดีขึ้น หรือ การที่มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนามากมายไม่ได้เป็นตัวชี้วัดเสมอไปว่าสังคมดีขึ้น จะเห็นว่าในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรามีสิ่งเหล่านี้มากมาย แต่สังคมโดยรวมของที่นี่ยังล้าหลังทางความคิดในการพัฒนาตนเอง ดังนั้นเมื่อได้เข้ามาทำงานอาสาสมัครแบบนี้จึงเกิดความรู้สึกว่า นี่แหละคือรูปธรรมที่เป็นจริง ในการที่เราบอกว่าเราต้องเสียสละ ต้องช่วยเหลือสังคมแล้วค่อยๆ ขยายความคิด ความรู้สึกเห็นตัวตนว่า จริงๆ แล้วมนุษย์ต้องการช่วยเหลือคนอื่นเพียงแต่ไม่มีตัวอย่าง ไม่มีโอกาส ไม่มีสนามให้เล่น เพราะ

“สังคมมุสลิมถูกครอบด้วยคำสอนเรื่องการช่วยเหลือผู้อื่นอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีรูปธรรมให้เห็นและไม่มีช่องทางให้ทำ เมื่อมีงานอาสาสมัครให้ทำจึงเป็นจุดโอกาสสำคัญในการสำแดงรูปธรรมให้ประจักษ์”

จุดคลิกสำคัญที่ทำให้คิดเรื่องของการพัฒนาระบบอาสาสมัครในพื้นที่ มีอยู่สองเรื่องด้วยกัน คือ หนึ่ง ในสังคมมุสลิมจุดที่เคลื่อนได้เร็วและได้ผลต้องเคลื่อนผ่านผู้รู้ทางศาสนา ยิ่งผู้รู้ทางศาสนาที่เป็นนักพัฒนาจะทำให้เคลื่อนไปได้เร็วมาก เพราะเขามีทั้งความเชื่อและมีจิตสำนึก สอง วัฒนธรรมของสังคมที่นี่มักเรียกร้องมากกว่าจะทำเอง เราต้องการเปลี่ยนวัฒนธรรมการแบมือขอเป็นการพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเอง โดยทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง ชุมชนท้องถิ่นของตน

สำหรับกลยุทธ์ในการเลือกคนมาเป็นทีมบริหารมูลนิธิฯ และศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่นั้น มองว่า ต้องเป็นคนที่มีทุนทางสังคมในพื้นที่สูง คือเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายขบวนการ และผู้นำศาสนา ที่สำคัญเขาต้องสร้างความไว้วางใจให้กับชุมชนสังคมได้โดยสามารถอธิบายสิ่งที่กำลังทำอยู่นี้ว่ามันมีความบริสุทธิ์ จริงใจ ไม่แอบแฝง มิฉะนั้นเราจะขับเคลื่อนงานอาสาสมัครเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่อย่างที่บอกไว้ข้างต้นไม่ได้เลย ถ้าเราถูกระแวงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ต้น อันนี้สัมพันธ์กับจุดยืนความเป็นกลางทางสังคมที่เราต้องชัดเจน มั่นคง

หากถามว่าเมื่อริเริ่มจากงานอาสาสมัครแล้วอยากจะสานต่อเรื่องอะไรในจังหวะต่อไป ก็มองว่าต้องทำให้องค์กร (มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร) เป็นมืออาชีพมีระบบการจัดการที่มาตรฐาน ชัดเจน โปร่งใส เพราะเราต้องสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับ ซึ่งถ้าทำตรงนี้ได้ก็จะพัฒนาเรื่องของสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเราต้องอาศัยการบริจาคของมุสลิมทั่วโลก ผ่านเข้ามาสู่มูลนิธิฯ เนื่องจากคนมุสลิมเชื่อในการซอดาเกาะห์ (การสะเดาะเคราะห์โดยจะให้ตามความรู้สึกและเป็นกิจกรรมในการช่วยเหลือคน) ซึ่งเป็นการให้ทานที่มีมากในโลกมุสลิม มากกว่าซะกาดด้วยซ้ำ

พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติงานมูลนิธิฮีลาลอะห์มัร

ศูนย์ประสานงาน/ควบคุมเป็นส่วนรวม

๓๐๐/๑๒๒ หมู่ที่ ๔ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ๙๔๐๐๐ โทรสาร ๐๗๓ – ๓๑๓๓๒๑

พื้นที่จังหวัดนราธิวาส มี ๔ ศูนย์

ศูนย์เมืองนราธิวาส (นธ.๑)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.เมือง,อ.ยี่งอ,อ.บาเจาะ, อ.ตากใบ

จ.นราธิวาส และ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี

ที่ตั้ง ๒๐๓/๑๔ หมู่ ๑๓ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส

โทร ๐๗๓๕๑๓๕๐๘, ๐๘๙๔๖๔๐๗๖๔

ศูนย์รือเสาะ (นธ.๒)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.รือเสาะ, อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส และ อ.รามัน จ.ยะลา

ที่ตั้ง ๗/๒๖ ถ.รือเสาะสนองกิจ หมู่ ๒ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โทร ๐๗๓๕๗๑๙๑๑, ๐๘๙๖๕๖๙๐๗๔

ศูนย์ระแงะ (นธ.๓)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.ระแงะ, อ.เจาะร้อง, อ.จะแนะ

จ.นราธิวาส

ที่ตั้ง ๗๔๒/๓ หมู่ ๗ ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส โทร ๐๗๓๖๗๑๔๓๖, ๐๘๔๘๕๙๒๒๐๗

ศูนย์แว้ง (นธ.๔)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.แว้ง, อ.สุคีริน, อ.สุไหงโก-ลค,

อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส

ที่ตั้ง ๑๒๔/๓ หมู่ ๑ ต.แว้ง อ.แว้ง จ.นราธิวาส

โทร ๐๘๔๘๕๘๗๖๗๓, ๐๘๖๙๖๘๔๕๘๔

พื้นที่จังหวัดยะลา มี ๓ ศูนย์

ศูนย์กรงปินัง (ยล.๑)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.กรงปินัง, อ.เมือง จ.ยะลา

ที่ตั้ง ๓๖ หมู่ ๗ ต.กรงปินัง อ.กรงปินัง จ.ยะลา

โทร ๐๗๓๒๓๘๔๒๗, ๐๘๑๒๗๗๓๑๙๘

ศูนย์บันนังสตา (ยล.๒)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.บันนังสตา, อ.ธารโต จ.ยะลา

ที่ตั้ง ๒๘๐ หมู่ ๓ ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา

โทร ๐๗๓๒๘๙๓๓๔, ๐๘๔๙๖๕๕๕๙๖

ศูนย์ยะหา (ยล.๓)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.ยะหา, อ.กาบัง จ.ยะลา ที่ตั้ง ๑๑๘ หมู่ ๒ ต.บาโงยซีแน อ.ยะหา จ.ยะลา

โทร ๐๗๓๒๕๐๒๐๑, ๐๘๑๑๒๘๖๔๐๔

พื้นที่จังหวัดปัตตานี มี ๓ ศูนย์

ศูนย์ยะหริ่ง (ปน.๑)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.ยะหริ่ง, อ.เมือง, อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

ที่ตั้ง ๒๕๒/๒ หมู่ ๒ ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

โทร ๐๗๓๔๙๑๕๐๕, ๐๘๕๐๘๐๓๓๑๘

ศูนย์โคกโพธิ์ (ปน.๒)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.โคกโพธิ์,อ.หนองจิก, อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

ที่ตั้ง ๕๖/๑๗ หมู่ ๗ ต.โคกพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

โทร ๐๘๓๕๑๐๔๒๔๒, ๐๘๔๙๖๕๖๐๐๖

ศูนย์ปะนาเระ (ปน.๓)

พื้นที่รับผิดชอบ อ.ปะนาเระ, อ.สายบุรี, อ.กะพ้อ, อ.มายอ, อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี

ที่ตั้ง ๑๓๒/๒ หมู่ ๓ ต.พ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

โทร ๐๘๔๘๕๘๕๖๔๔

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อบังคับมูลนิธิฮิลาลอะห์มัร

หมวดที่ 1

ชื่อเครื่องหมายและสำนักงานที่ตั้ง



ข้อ 1. มูลนิธินี้มีชื่อว่า ฮิลาลอะห์มัร ย่อว่า ฮ.ม.

เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า HILAL AHMAR FOUNDATION ย่อว่า H.A.F

เรียกเป็นภาษาอาหรับว่า جمعية الهـلال الأحـمـر

ข้อที่ 2. เครื่องหมายของมูลนิธินี้ คือ เป็นเครื่องหมายสี่เหลี่ยมพื้นสีแดงมีรูปจันทร์เสี้ยวสีขาวสลักอยู่ตรงกลาง และอักษรไทยอยู่ใต้จันทร์ ชื่อภาษาอังกฤษอยู่ใต้สี่เหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่เหนือสี่เหลี่ยมและอักษรอาหรับว่าجمعية الهـلال الأحـمـر สลักอยู่

ข้อที่ 3. สำนักงานของมูลนิธิ ฯ ตั้งอยู่ เลขที่ ๓๐๐/๑๒๒ หมู่บ้านออมทอง หมู่ที่ ๔ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โทรศัพท์/โทรสาร ๐-๗๓๓๑-๓๓๒๑



หมวดที่ 2

วัตถุประสงค์

ข้อที่ 4. วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ

4.1 เพื่อบรรเทา สาธารณภัย

4.2 เพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด

4.3 เพื่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เด็กกำพร้า คนยากจน และคนอนาถา

4.4 เพื่อดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

4.5 ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด ฯลฯ



หมวดที่ 3

ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน



ข้อ 5. ทรัพย์ของมูลนิธิมีทุนเริ่มแรก คือ

5.1 เงินสด จำนวน 500,000 บาท ( ห้าแสนบาทถ้วน )


ข้อ 6. มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีต่อไปนี้

6.1 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่นๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาระติดพันอื่นใด

6.2 เงินหรือทรัพย์ที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้

6.3 ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินมูลนิธิ

6.4 รายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรมของมูลนิธิ



หมวดที่ 4

คุณสมบัติ และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ



ข้อ 7. กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้

7.1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์

7.2 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

7.3 ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ข้อ 8. กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

8.1 ถึงคราวออกตามวาระ

8.2 ตายหรือลาออก

8.3 ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับข้อ 7

8.4 เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ออกโดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการมูลนิธิที่มีอยู่



หมวดที่ 5

การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ ฯ

ข้อ 9. มูลนิธิดำเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบสองคนประกอบด้วย ประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิ เลขานุการมูลนิธิ เหรัญญิก แลตำแหน่งอื่นๆ ตามแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร

ข้อ 10. ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการผู้เริ่มจัดตั้งมูลนิธิเป็นผู้เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่นๆ ตามจำนวนที่ เห็นสมควรตามข้อบังคับ

ข้อ 11. วิธีเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิให้ปฏิบัติดังนี้ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่งเลือกตั้งประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการตามจำนวนที่เห็นสมควรตามข้อบังคับ

ข้อ 12. กรรมการดำเนินงานมูลนิธิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี

ข้อ 13. เพื่อให้การดำเนินงานของมูลนิธิได้เป็นไปโดยติดต่อกัน เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิได้ปฏิบัติหน้าที่มาครบสองปี (ครึ่งหนึ่งของวาระการดำรงตำแหน่ง) ให้มีการจับสลาก ออกไปหนึ่งในสองของจำนวนกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการการดำเนินงานมูลนิธิครั้งแรก และให้กรรมการมูลนิธิที่หมดวาระการปฏิบัติหน้าที่กรรมการมูลนิธิต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะได้แจ้งการรับจดทะเบียนกรรมการมูลนิธิชุดใหม่

ข้อ 14. การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิ ให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ เป็นมติของที่ประชุม

ข้อ 15. กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือโดยการจับสลากในวาระแรก อาจได้รับเลือกเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก

ข้อ 16. ถ้าตำแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง กรรมการมูลนิธิผู้ได้รับการแต่งตั้งซ่อมอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน

หมวดที่ 6

อำนาจหน้าที่กรรมการมูลนิธิ



ข้อ 17. คณะกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและภายใต้ข้อบังคับนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

17.1 กำหนดนโยบายของมูลนิธิ และดำเนินงานตามนโยบายนั้น

17.2 ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่างๆ ของมูลนิธิ

17.3 เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงินและบัญชีดุล รายได้รายจ่ายต่อกระทรวงมหาดไทย

17.4 ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ และวัตถุประสงค์ของข้อบังคับนี้

17.5 ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ

17.6 แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ เพื่อดำเนินการเฉพาะอย่างของมูลนิธิ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ

17.7 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นพิเศษ เป็นกรรมการกิตติมศักดิ์

17.8 เชิญผู้ทรงเกียรติให้เป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ

17.9 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ

17.10 แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจำการมูลนิธิ

17.11 มติที่ได้ดำเนินการตามข้อ 17.7, 17.8, 17.9, และ 17.10 ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุม และที่ปรึกษาตามข้อ 17.9 ย่อมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิที่เชิญเท่านั้น

ข้อ 18. ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

18.1 เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

18.2 สั่งการ และเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

18.3 เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอกในการทำนิติกรรมใดๆ ของมูลนิธิหรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ข้อบังคับ และสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิและในการอรรถคดีนั้นเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทนหรือกรรมการ
มูลนิธิผู้ที่ได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมมูลนิธิ ได้ลงลายมือชื่อแล้วจึงเป็นอันใช้ได้

18.4 ปฏิบัติการอื่นๆ ตามข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการมูลนิธิ

ข้อ 19. ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิ ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทำการแทน

ข้อ 20. ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่ง เป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น

ข้อ 21. เลขานุการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการ และดำเนินการประจำของมูลนิธิติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ ปิดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิ และทำรายงานการประชุมตลอดจนรายงานกิจการมูลนิธิ

ข้อ 22. เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิตลอดจนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด

ข้อ 23. สำหรับกรรมการตำแหน่งอื่นๆ ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด โดยทำเป็นคำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน

ข้อ 24. คณะกรรมการมูลนิธิมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมกรรมการ หรืออนุกรรมการอื่นๆ ของมูลนิธิได้


หมวดที่ 7

อนุกรรมการ



ข้อ 25. คณะกรรมการมูลนิธิอาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการได้ตามความเหมาะสมโดยจะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการประจำ หรือเพื่อการใดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะคราวก็ได้ และในกรณีที่คณะกรรมการมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้งประธานอนุกรรมการ เลขานุการ หรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นไว้ ก็ให้อนุกรรมการแต่งตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้

ข้อ 26. อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะเสร็จงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ ส่วนคณะอนุกรรมการประจำอยู่ในตำแหน่งตามเวลาที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง และอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้

26.1 อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามคณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย

26.2 อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการมูลนิธิเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย



หมวดที่ 8

การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ



ข้อ 27. คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีทุกๆ ปี ภายในเดือนเมษายนและต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อ 28. การประชุมวิสามัญอาจมีได้ในเมื่อ ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิตั้งแต่สองคนขึ้นไปแสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทนประธานขอให้มีการประชุมก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้

ข้อ 29. กำหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะกรรมการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการประชุม ให้คณะกรรมการตกลงกันเอง และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประชุมให้ใช้ข้อ 27 บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 30. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อย ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจสั่งให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่ประธานกรรมการมูลนิธิต้องรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในคราวต่อไป ถึงมติและกิจการที่ได้ดำเนินการไปตามมตินั้น กิจการใดเป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อยหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิ

ข้อ 31. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือประธานที่ประชุมมีอำนาจเชิญ หรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุม ในฐานะแขกผู้มีเกียรติ หรือผู้สังเกตการณ์ หรือเพื่อชี้แจง หรือเพื่อให้คำปรึกษาแก่ที่ประชุมได้



หมวดที่ 9

การเงิน


ข้อ 32. ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือรองประธานกรรมการมูลนิธิในกรณีทำหน้าที่แทน มีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าว ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร็งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่ายได้ แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมคราวต่อไป

ข้อ 33. เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งแสนบาท

ข้อ 34. เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ์ ต้องนำฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นใดที่รัฐบาลให้การค่ำประกัน แล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร

ข้อ 35. การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คหรือตั๋วสั่งจ่ายเงิน จะต้องมีลายมือชื่อประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทน กับเลขานุการหรือเหรัญญิกลงนามทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้

ข้อ 36. ในการใช้จ่ายของมูลนิธิ ให้จ่ายเพียงดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นทุนของมูลนิธิ และเงินที่ผู้บริจาคมิได้แสดงเจตนาให้เป็นเงินสมทบทุนโดยเฉพาะและรายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรมของมูลนิธิ

ข้อ 37. ให้คณะกรรมการมูลนิธิวางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของมูลนิธิตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

ข้อ 38. ให้มีผู้สอบบัญชีมูลนิธิ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิเห็นชอบและแต่งตั้งจากบุคคลที่มิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของมูลนิธิ โดยจะให้ดำรงตำแหน่งกิตติมศักดิ์ หรือได้รับค่าตอบแทนอย่างไรสุดแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนด

ข้อ 39. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของมูลนิธิ และรับรองบัญชีงบดุลประจำปีที่คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ผู้สอบบัญชีมีสิทธิ์ตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และเอกสารดังกล่าวได้



หมวดที่ 10

การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ



ข้อ 40. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจะกระทำได้ โดยเฉพาะคณะกรรมการมูลนิธิ ซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมีมติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมตราสาร ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม



หมวดที่ 11

การเลิกมูลนิธิ



ข้อ 41. ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการ หรือโดยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่มัสยิดดารุสสาลัม (สาวอ) เลขทะเบียนเลขที่ 120/2497วันที่จดทะเบียน วันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน พ. ศ. 2497 ตั้งอยู่ - หมู่ที่ 6 ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 96150

ข้อ 42 การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วให้มูลนิธิอันเป็นสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุต่อไปนี้

42.1 เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วไม่ได้รับทรัพย์สินตามคำมั่นเต็มจำนวน เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นว่า ทรัพย์สินของมูลนิธิที่

ได้รับนั้นพอที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ

42.2 เมื่อกรรมการมูลนิธิจำนวนสองในสามมีมติให้ยกเลิก

42.3 เมื่อมูลนิธิมิอาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

42.4 เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ



หมวดที่ 12

บทเบ็ดเตล็ด



ข้อ 43. การตีความในข้อบังคับมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัยให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ 44. ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับในเมื่อข้อบังคับของมูลนิธิมิได้กำหนดไว้

ข้อ 45. มูลนิธิต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์ ค้ากำไรเพื่อบุคคลใด และจะไม่ดำเนินการนอกเหนือจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง




                                                            ผู้จัดทำข้อบังคับ

                                                       นายอิสกันดาร์ ธำรงทรัพย์

                                         ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิฮิลาลอะห์มัร

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปฏิบัติงาน



อาสาสมัครฮิลาลอะห์มัรกำลังปฏิบัติหน้าที่

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รูปภาพกิจกรรมอาสาสมัครมูลนิธิฮิลาลอะห์มัร




หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการสาขายะหามอบของช่วยเหลือชาวบ้าน

เปิดคลื่นวิทยุฮิลาลเรดีโอ

  
                                              ภาพประกอบ
   ทางมูลนิธิฮิลาลอะห์มัรได้เปิดคลื่นวิทยุเพื่อประชาชนของสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ได้ผลิตรายการที่สถานีวทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน จังหวัดปัตตานี FM 91.5 MHz และส่งสัญญาณที่สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตันจังหวัดยะลา FM96.25 MHz ออกอากาศ วันจันทร์ถึงวันศูกร์ เวลา 16.00 - 17.00 น.